วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคาร  ที่  22  สิงหาคม  พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

                วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มได้นำเสนอสถานที่ ที่กลุ่มของตนเองไปศึกษาหาข้อมูลมาโดยมีสถานที่ดังนี้
➪ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี
➪อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์
➪Coro Field ฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่นแห่งสวนผึ้ง จ.ราชบุรี
➪ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี

  กิจกรรมต่อมาอาจารย์อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นและให้โจทย์มาว่าทำอย่างไรก็ได้ให้กระดาษลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด เพื่อนหลายคนพับเป็นนก จรวด เครื่องบิน บางคนก็ไม่พับ จากนั้นก็นำมาโยนพร้อมกันทั้งห้องว่าของใครลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด

  หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ4-5คนร่วมกันระดมความคิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุดกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเครื่องบินกระดาษ แต่ไม่สามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานเท่ากลุ่มอื่น เนื่องจากบางกลุ่มใช้กระดาษเพียงครึ่งแผ่นบ้าง

  ครั้งนี้อาจารย์ให้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ตได้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเป็นกังหันกระดาษ เพื่อนกลุ่มอื่นๆได้ทำเป็นลูกยางกระดาษ ฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆบ้าง เมื่อนำมาแข่งกันแล้วเพื่อนที่ทำเป็นลูกยางสามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าเห็นข้อดี ข้อเสียของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับปรุงแก้ไขของกลุ่มตนเองโดยที่กลุ่มลูกยางใหญ่ลอยได้นานกว่ากลุ่มลูกยางเล็ก เราแก้ไขโดยนำข้อดีของเพื่อนแต่ละกลุ่มมาปรับปรุงข้อเสียของกลุ่มตนเอง โดยปรับขนาดของกังหันให้ใหญ่ขึ้น และกังหันของเราก็สามารถลอยได้นานกว่ากังหันเล็ก

  เราจะเห็นได้ว่ากระดาษจะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุดเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น อากาศ ทิศทาง แรงงลม องศาการโยน ขนาดของสิ่งประดิษฐ์



(อ้างอิงมาจาก https://aungaungchu.blogspot.com/2017/09/3-22.html   )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น