MapleStory Finger Point

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ


               ดูการทดลองของเพื่อนๆอาจารย์ให้คำแนะนำในการทดลองต่างๆให้สอดคล้องกับกระบวนการวิทยาศาสตร์การทดลองก็จะมีดังนี้
-ทอร์นาโดนขวด              https://www.youtube.com/watch?v=mYUuy0lF__g
-การละลาย                     https://www.youtube.com/watch?v=wvV4RxqIC5E
-อินดิเคเตอร์จากพืช        https://www.youtube.com/watch?v=xdpGQoREJgs
   


(อ้างอิงมาจาก https://aungaungchu.blogspot.com/2017/11/15.html?m=1   )
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน อังคาร  ที่ 14 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2560 


ความรู้ที่ได้รับ

          อาจารย์ตรวจสอบแผนผังที่ได้ทำในสับดาห์ที่ผ่านมาพร้อมให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไข




(อ้างอิงมาจาก  http://aungaungchu.blogspot.com/p/14.html  )
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคาร  ที่  7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ


จับกลุ่ม 4 - 5 คน ทำ Mind Map ลงบนชาร์จ พร้อมตกแต่งให้เรียบร้อย 
แต่ละหัวข้อประกอบด้วย

-  ชนิด
-  ลักษณะ
-  ส่วนประกอบ
-  การเก็บรักษา
-  ประโยชน์



(อ้างอิงมาจาก http://aungaungchu.blogspot.com/p/13.html )
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560



การทำกรอบมาตราฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 



ความรู้ที่ได้รับ

          
การนำเสนอผลงานตัวเองลง Blog     
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

     ความรู้ที่ได้รับจากการชมคลิปวิดีโอเรื่อง อากาศ ได้รับความรู้ดังนี้ 


    - อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่
    - อากาศมีน้ำหนักแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิรอบข้างว่าร้อนหรือเย็นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอากาศร้อนจะทำให้อากาศมีน้ำหนักเบาลงและอากาศจะลอยขึ้น
    - เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศจะเคลื่อนที่ออกไป  
    - เด็กจะได้รับประสบการ์ผ่านการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
    - เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์จะนำประสบการณ์ไปสู่สมองและซึมซับจดจำเอาไว้ เมื่อเด็กเจอเหตุการ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเด็กก็จะนำเอาประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นความรู้ใหม่
    - เมื่อเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้
    - เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดในสังคม
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนนำผลงานทั้งที่เป็นของเล่นเดี่ยว สื่อเข้ามุม มานำเสนอผลงานของตนเอง


(อ้างอิงมาจาก http://aungaungchu.blogspot.com/p/10.html   )


บันทึกการเรียนรู้คร้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

       ไปศึกษาดูงานการจัดนิทรรศการของพี่ปี 5 สาขา การศึกษาปฐมวัย

1. Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง
   1.1อันดับแรกเลยเด็กๆระดมสมองร่วมกัน ในการหาหัวเรื่องที่จะเรียน คือ กลุ่ม 1 เรื่องขนมชั้น และกลุ่ม 2 เรื่องดอกดาวเรือง พี่ๆเล่าว่าเด็กๆสนใจเรื่องดอกดาวเรืองจึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา
   1.2 เป็นภาพประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับดอกดาวเรือง คือให้เด็กๆวาดรูปแล้วเล่าเกี่ยวกับภาพที่วาด แล้วพี่ๆเขียนตามที่เด็กเล่าจากภาพ เช่น หนูเคยปลูกดอกดาวเรืองที่โรงเรียน ปลูกดาวเรืองที่สนาม ฯลฯ
   1.3 ใช้ดินน้ำมันปั้นดอกดาวเรืองตามจินตนาการของเด็กๆ ซึ่งเพื่อนสงสัยว่าสีที่ใช้ในการปั้นไม่เป็นสีเหลืองเหมือนกับสีของดอกดาวเรืองเด็กๆจะไม่สงสัยหรอว่าทำไมไม่ใช้สีเหลือง ซึ่งพี่ๆก็จะอธิบายว่าในห้องจะมีข้อตกลงว่าห้ามน้ำสีดินน้ำมันมาผสมกันซึ่งเด็กๆเข้าใจและไม่สงสัยว่าทำไมไม่ใช้สีเหลืองในการปั้นดอกดาวเรือง
   1.4 คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดาวเรือง เช่น ดอกดาวเรืองมีกี่ประเภท นานเท่าไหร่ดาวเรืองจะออกดอก ลักษณะของต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่งต่อไปพี่ๆก็จะไปหาคำตอบให้กับเด็กๆ โดยทำแผ่นชาร์ตขึ้นมาในสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดอกดาวเรือง
   1.5 ลงมือปฏิบัติในการปลูกดอกดาวเรือง ซึ่งก็จะเชิญพ่อของน้องมาสาธิตในการปลูกดอกดาวเรือง พี่ๆก็นำผลงานที่น้องๆปลูกดาวเรืองมาให้ดูด้วย
   1.6 เมื่อจบ Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง ก็จะมีการ์ดเชิญในการชมนิทรรศการเรื่องดาวเรืองของเด็กๆ


2. การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)

    ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกืดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
   ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
    1. การวางแผน (Plan) 
   2. การปฏิบัติ (Do) 
   3. การทบทวน (Review)


การนำไปใช้

      ทำให้เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบรู้ถึงการจัดการเรียนการสอน รู้จักใช้สิ่งใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ได้


ประเมิน

ตนเอง      ตั้งใจในสิ่งที่น้องนำเสนอ
เพื่อน        ให้ความสนใจและตั้งใจฟัง
อาจารย์     ให้ความรู้เพิ่มเติมในการนำไปใช้ศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้เพิ่มเติม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ความรู้ที่ได้รับ                 ดูการทดลองของเพื่อนๆอาจาร...